วันพุธ, มกราคม 27, 2553

ลอดช่อง สิงคโปร์




ใครจะรู้บ้างว่า คำว่า ลอดช่องสิงคโปร์นั้น แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว แต่หลายคนคงสงสัยว่าแล้วคำว่า สิงคโปร์ล่ะ มาจากไหน ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันจนติดปาก ถึงบริเวณที่ตั้งร้านนี้ ที่เป็นเจ้าแรก ในการทำ “ลอดช่องสิงคโปร์” นั่นเอง

เพราะ หากย้อนไปเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน ร้านนี้บังเอิญไปตั้งอยู่บริเวณ หน้าโรงภาพยนต์สิงคโปร์ (เดิม) หรือโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช และเมื่อลูกค้าจะไปทาน ก็มักจะเรียกว่า “ไปทานลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์” สุดท้ายก็เรียกให้สั้นลงว่า “ลอดช่องสิงคโปร์” แทน

ส่งผลให้ร้าน “สิงคโปร์โภชนา” เป็นร้านต้นกำเนิดลอดช่องสิงคโปร์ ที่เรียกกันติดปากมาจนถึงปัจจุบัน โดยนายณรงค์ จักรธีรังกูร เจ้าของร้านสิงคโปร์โภชนา ได้ย้อนอดีตให้ฟังว่า ธุรกิจกิจนี้เป็นของผู้เป็นพ่อ โดยได้รับการถ่ายทอดสูตรมาจากเพื่อนอีกทีหนึ่ง ซึ่งรวมระยะเวลาที่ร้านลอดช่องสิงคโปร์เปิดบริการให้ลูกค้าได้ลิ้มลองก็ ประมาณกว่า 60 ปี โดยตั้งที่บริเวณแยกหมอมี ตรงข้ามธนาคาร UOB ถ.เจริญกรุง ซึ่งแต่เดิมเป็นโรงหนังสิงคโปร์ จนกระทั่งถูกรื้อทิ้ง สร้างใหม่เป็นโรงหนังเฉลิมบุรี

ร้าน ลอดช่องสิงคโปร์ โภชนานั้น ปัจจุบันได้กลายเป็นตำนานบนถนนเยาวราช เพราะไม่เพียงแต่ความเก่าแก่ที่ครองใจผู้บริโภคมานานกว่า 60 ปีแล้ว ร้านนี้ยังถูกทางสำนักงานเขตสัมพันธ์วงศ์ ได้ขอให้คงอยู่ไว้ เพราะถือว่าร้านนี้กลายเป็นตำนานและเป็นส่วนหนึ่งของเยาวราชที่ขาดไม่ได้ไป แล้ว

วันเสาร์, มกราคม 23, 2553

รับมือ ‘เรอ-ตด’



‘สามัญประจำบ้าน’ แก้เกมอาการท้องไส้ปั่นป่วนจนทำให้รู้สึกอยากเรอหรือผายลมเพื่อขับความอัดอั้นออกจากร่างกายพร้อมกลิ่นและเสียงอันไม่พึงประสงค์

เริ่มจากการสังเกตตนเองว่า ทุกครั้งที่ดื่มนมมักจะมีอาการท้องอืดเกิดขึ้นตามมาหรือไม่ เพราะถ้าท้องอืดหลังดื่มนมแสดงว่าร่างกายขาดเอนไซม์ในการย่อยนม ดังนั้นควรเลี่ยงการดื่มนม

ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่อง จากเป็นการเพิ่มก๊าซในระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วย ถั่ว กระหล่ำปลี ดอกกระหล่ำ หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง บร็อกโคลี แอปเปิ้ล ลูกแพร์ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีลักษณะเป็นฟองฟู่ อาทิ เบียร์ โซดา และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Carbonated แต่หากรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้เข้าไปแล้ว การดื่มน้ำเปล่าก็พอจะช่วยบรรเทาได้บ้าง

นอกจากนี้ ยังควรเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งหรืออมลูกอมเป็นเวลานานๆ หรือการสูบบุหรี่ รีบเคี้ยวรีบกลืนอาหารทั้ง ๆ ที่ยังถูกบดเคี้ยวไม่ละเอียดเพียงพอ และการสวมฟันปลอมที่ไม่กระชับเข้ารูปเหงือก เพราะจะทำให้ร่างกายกลืนเอาลมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร

วันศุกร์, มกราคม 22, 2553

ดอกดาหลา




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น
ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม

ใบ
มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ

ดอก
ดอก ดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ

พันธุ์
ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง

การขยายพันธุ์
ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. การแยกหน่อ
ควร แยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก
2. การแยกเหง้า
โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก
3. การปักชำหน่อแก่
โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง

การปลูก
โดย ใช้หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว โดยสังเกตุให้หน่อนั้น ๆ มีใบติดมาประมาณ 4 คู่ใบ ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วทำการกลบดินให้สูงประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม อาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพอกทับโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น นอกจากนี้ควรหาไม้หลักมาผูกติดกับลำต้นกันต้นโยก

การดูแลรักษาดาหลา
การให้ปุ๋ย
จะ ให้ปุ๋ยดาหลาประมาณ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง ซึ่งจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16) ในอัตรา 96 กก./ไร่/ปี และให้ปุ๋ยคอกในอัตรา 15 กก./ต้น/ปี นอกจากนี้อาจใช้อินทรีย์วัสถุที่ผุพังแล้ว เช่น ใบไม้ต่าง ๆ หรือลำต้นแก่ของดาหลา, วัชพืชที่ขึ้นตามท้องร่อง มาเป็นปุ๋ยหมัก หรืออาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพูนใส่ตามโค้นต้น ซึ่งดินแลนนี้จะมีอินทรีย์วัตถุสูง

การให้น้ำ
ดา หลาเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่มากพอสมควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการปลูก ควรรดน้ำให้ชุ่ม โดยใช้แครงสาดวันละ 1 ครั้ง เมื่อต้นดาหลาตั้งตัวได้อาจเว้นระยะห่างของการให้น้ำจากวันละครั้งออกไปเป็น ประมาณ 2-3 วันต่อครั้ง แต่ต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ถ้าเป็นฤดูร้อนควรเพิ่มการให้น้ำมากขึ้นโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย (springkler) บนแปลงที่ไม่ยกร่อง

การป้องกันกำจัดวัชพืช
ดา หลาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกหน่อได้มาก ทำให้กอแน่นใบบังแสงซึ่งกันและกัน การกำจัดวัชพืชจะต้องกระทำมากในช่วงแรกของการปลูก เมื่อดาหลาโตมาก ๆ จะทำให้แสงที่ส่องผ่านมากระทบพื้นดินน้อย วัชพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จึงไม่ต้องทำการกำจัดวัชพืชมากนัก

โรคและแมลง
ยังไม่พบโรคที่เป็นปัญหาสำคัญกับดาหลา แต่มีแมลงสำคัญดังนี้

1. หนอนเจาะลำต้น
ลักษณะการทำลาย
เข้าทำลายต้นแก่ โดยไปเจาะบริเวณลำต้น ทำให้ต้นดาหลาหยุดชะงักการเจริญเติบโต และไม่สามารถให้ออกดอกได้
การป้องกันกำจัด
ใช้ฟูราดาน 3% โรยบริเวณรอบ ๆ โค้นต้น หรืออาจใช้เซฟวิน

2. มดแดง
ลักษณะการทำลาย
กรดจากสิ่งขับถ่ายของมดแดงจะทำให้กีบดอกเกิดรอยขาวเป็นจุด ๆ
การป้องกันกำจัด
เก็บรังมดแดงออกจากต้น และใช้ย่าฆ่ามด