วันศุกร์, มิถุนายน 04, 2553
11 อ. เพื่ออายุยืนยาว
ประเทศไทยคาดว่าจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 6.3 ล้านคนในอีก 6 ปีข้างหน้า และปัจจุบันคนไทยมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น คือ ผู้หญิง 70 ปี และผู้ชาย 68 ปี
แต่พออายุถึงวัย 50 บางคนก็ดูทำอะไรช้าลง ระวังตัวมากขึ้น ไม่ค่อยมีความสดชื่น ความเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ในตัว ในขณะที่อีกหลายๆ คน ทั้งที่อายุเลย 60 มาแล้ว แต่ก็ยังสดชื่นอยู่ ดูเป็นหนุ่มใหญ่ สาวใหญ่มาดดี มีเสน่ห์ และยังดูสนุกสนานกับสิ่งข้างๆ รอบตัว ดูมีคุณภาพชีวิตที่ดี
คุณภาพชีวิตที่ดี มีหัวใจสำคัญ 4 อย่าง
1.ร่างกายที่แข็งแรง (Biological)
2.จิตใจที่มีความสุข (Phychological)
3.วิญญาณ หรือความภาคภูมิใจในตัวเอง
4.สังคมดีๆ ที่อยู่รอบตัว (Social) เช่น ลูก หลาน ญาติพี่น้อง และเพื่อนๆ รอบตัว
การปฏิบัติตน อย่างง่ายๆ ตามหลัก 11 อ.
1. อาหาร
ระยะอายุ 50 ปีเป็นวัยที่ควรจะช่วยประคับประคองการทำงานของเซลล์นับล้านๆ เซลล์ที่อยู่ในร่างกายให้ทำงานได้อย่างปกติ เพราะวัยนี้มีการเสื่อมถอยของระบบการทำงานในอวัยวะทุกระบบ และระบบการเผาพลาญอาหาร (metabolism) ดังนั้นควรลดปริมาณอาหารลง ให้สัมพันธ์กับการใช้พลังงานจริงคือประมาณ 1,500 กิโลแคลลอรี่ต่อวัน และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รับประทานผัก และผลไม้วันละ 5 จานเล็ก
2.อากาศ
ถ้าได้ออกซิเจนที่ดีจากพื้นที่ดปร่งอย่างเช่น ในสวนสาธารณะตอนเช้าๆ จะทำให้เลือดที่สูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายมีปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอทำให้เซลล์มีคุรภาพส่งผลให้อวัยวะทุกส่วนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ไอเสียจากรถยนต์หรือโรงงาน ตลอดจนสียงดังจากเครื่องยนต์ต่างๆ โดยอาจจะมีการปลูกต้นไม้รอบๆ บ้านและสร้างรั้วที่มิดชิด
3. ออกกำลังกาย
ช่วยทำให้คงสภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อต่อต่างๆ และทำให้การสูบฉีดเลือดไหลเวียน (Blood Circulation) ไปเลี้ยงร่างกาย และเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างดี ทำไห้ร่างกาย และหัวใจทำงานได้อย่างราบรื่น
ผู้สูงอายุควรออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 นาที
4. อนามัย
- ไม่สูบบุรี่ เนื่องจากวัยเสื่อมถอย การสูบบุรี่จะทำให้ถุงลมปอดทำงานได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีคราบนิโคติน และสารพิษอื่นๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในบุหรี่ไปเกาะติดในหลอดลม และถุงลมปอด
- ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ตลอดจนยาเสพติดประเภทต่างๆ
- สังเกตอาการผิดปกติของร่างกายและจิตใจวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าสังเกตพบความผิดความปกติในระยะเริ่ใต้น จะทำให้การรักษาได้ผลดี
- ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
5. (แสง)อาทิตย์
การรับแสงแดดอ่อน ในตอนเช้า เพื่อให้ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพิ จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสของร่างกาย สามารถป้องกันและซะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
6. อารมณ์
ผู้สูงอายุจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หงุดหงิด โมโหโกรธง่าย ทำให้ขาดสติในการพิจารณาไตร่ตรองเหตุผล ต่อให้เกิดความขัดแข้งกับบุคคลอื่นได้ง่าย ต้องหาวิธีในการควบคุมอารมณ์ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การทำสมธิ การศึกษาธรรมะ จะช่วยให้เกิดอาการผ่อนคลาย มีสติมากขึ้น
7. อดิเรก
ผู้สูงอายุควรหางานอดิเรกทำ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือลดการหมกหมุ่นในสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
8. อบอุ่น
การเป็นบุคคลที่มีบุคคลิกโอบอ้อม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้การช่วยเหลือสมาชิกในครอบครัวและบุคคลอื่น เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
9. อุจจาระ / ปัสสาวะ
ถ้ามีปัญหาเรื่องท้องผูก ส่งผลให้มีสารพิษตกค้างในร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ถ้าเป็นบ่อยๆ การป้องกันการเกิดท้องผูก โดยการรับประทานอาหารผักผลไม้ดื่มากๆ และออกกำลังกายอบ่างสม่ำเสมอ ป้องกันการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยการบริการกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราย เช่น การขมิบก้น และช่องคลอด
10. อุบัติเหตุ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุโดยวิธีการต่างๆ เช่น สายตายาวต้องใส่แว่นสายตา หูได้ยินไม่ชัดเจนต้องไปตรวจเพื่อแก้ไข สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมต้องไปปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
11. อนาคต
จะต้องมีการเตรียมเงินและที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นหลักประกัน ในการดำเนินชีวิตเมื่อเข้าสู่วัยอายุ
หลักการปฏิบัติตัวง่ายๆ เพื่อความพร้อมในการก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เท่านี้ก็สามารถเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แล้ว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น