หมีพูห์ หรือ วินนี-เดอะ-พูห์ ( Winnie-the-Pooh) เป็นตัวละครหมีที่สร้างขึ้นโดย เอ. เอ. มิลน์ และตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคมค.ศ. 1926 ในหนังสือเรื่อง วินนี-เดอะ-พูห์ และ เดอะเฮาส์แอตพูห์คอร์เนอร์ (1928) เนื้อเรื่องในหนังสือมีลักษณะคล้ายกับ ป่าแอชดาวน์ ในเมือง อีสต์ซัซเซก ในประเทศอังกฤษ โดยชื่อ วินนี มาจากชื่อตุ๊กตาหมีของทหารชาวแคนาดานายหนึ่ง ซึ่งตั้งตามชื่อเมือง วินนีเพก ในประเทศแคนาดา นอกจากหมีพูห์แล้วเพื่อนในป่าที่ได้รับความนิยมได้แก่ พิกเลต ทิกเกอร์ และ อียอร์ ต่อมา วอลต์ดิสนีย์ ได้นำวินนี-เดอะ-พูห์ มาจัดทำและได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น Winnie the Pooh (โดยไม่มีเครื่องหมายขีด) และหมีพูห์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของดิสนีย์ หมีที่ชื่อว่า วินนี่ เดอะ พูห์ เป็นผลงานสร้างสรรค์ของเอ.เอ.ไมลน์ ( A.A.Miline) นักเขียนชาวอังกฤษ มีชื่อเต็มว่า อลัน อเล็กซานเดอร์ ไมลน์ ตำนานของหมีพูห์เริ่มจากการที่ทหารกองทัพแคนาดาได้นำหมีน้อยตัวหนึ่ง ชื่อว่า วินนี่ เพ็ก แก่ประเทศอังกฤษ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของการร่วมรบกันระหว่างกองทัพแคนาดาและอังกฤษในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ( ค.ศ.1914-1918) หมีน้อยตัวนี้ได้ไปอยู่ที่สวนสัตว์กรุงลอนดอน ในปี 1919 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวลอนดอนมาก รวมถึงหนูน้อยคริสโตเฟอร์ โรบิน ลูกชายของนักเขียนชื่อเอ.เอ.ไมล์น หนูน้อยคริสโตเฟอร์นำชื่อวินนี่ เพ็ก ไปตั้งชื่อตุ๊กตาหมีตัวโปรดว่า วินนี่ เดอะ พูห์ โดยคำว่า “ พูห์” (Pooh) เป็นชื่อของหงส์ในกวีบทหนึ่ง ต่อมาเอ.เอ.ไมลน์ จึงเริ่มเขียนเรื่องราวของวินนี่ เดอะ พูห์ และเพื่อนพ้องของมัน โดยหนังสือวางจำหน่ายเมื่อปีค.ศ.1926 หรือ 74 ปีที่แล้ว กระทั่งปี 1996 ที่ผ่านมา ยอดขายหนังสือสูงถึง 20 ล้านเล่ม แปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 25 ภาษา ในขณะเดียวกันวอลต์ ดิสนีย์ ซื้อลิขสิทธิ์หมีพูห์และนำไปสร้างการ์ตูนบนแผ่นฟิล์มในปี 1996 พร้อมกับผลิตภัณฑ์มากมายก่ายกอง ทำให้หมีพูห์เป็นตัวการ์ตูนยอดนิยมอันดับ 2 ของเด็กอเมริกันรองจากมิกกี้ เม้าส์ หมีพูห์รู้ดีว่าเขาต้องการอะไรเมื่อ “ ท้องเริ่มส่งเสียงร้อง” นั่นคือ น้ำผึ้งไง! อืม... แต่จะทำอย่างไรหากเขาพบเพียงโถเปล่าที่มีน้ำผึ้งเหนียว ๆ ติดอยู่เพียงนิดเดียวเท่านั้น “ งั้นเราก็ต้องช่วยจัดการให้โถเกลี้ยงเร็ว ๆ หน่ะสิ” เจ้าหมีสมองเล็ก (แต่บางครั้งก็ฉลาดล้ำลึก) ตัวนี้อาจพยายามหลอกเจ้าผึ้งขี้สงสัยว่ าตัวเขาคือเมฆฝนสีดำก้อนใหญ่ หรือถ้าคิดอีกที การแวะไปบ้านกระต่ายเพื่อหาขนมหวานทานดูจะเป็นเรื่องง่ายกว่า ( และเจ็บตัวน้อยกว่าด้วย) แต่ไม่ว่าพูห์จะเลือกทำอะไรก็มักจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเสมอ เช่น ติดอยู่ในรูกระต่าย แคบ ๆ และไม่สามารถขยับเขยื้อนตัวออกมาได้ เป็นต้น แต่ก็นั่นแหล่ะ เขามักจะหาทางออกได้เสมอ เพราะแม้สมองของเขาจะเต็มไปด้วยนุ่น แต่เพื่อนรักของคริสโตเฟอร์ โรบิน หรือที่ใคร ๆ เรียกว่าเจ้าหมีแก่จอมงี่เง่าตัวนี้มีจิตใจที่งดงาม ในชีวิตจริง วินนี่ย์เดอะพูห์ ( หรือที่รู้จักกันในชื่อ เอ็ดเวิร์ดแบร์ ในช่วงแรกเมื่อเขาปรากฏตัวใน ‘When We Were Very Young’ คือ ของเล่นสุดรักสุดหวงของคริสโตเฟอร์ มิลล์ ( ลูกชายของเอ. เอ. มิลล์) ซึ่งได้รับเจ้าหมีน้อยตัวนี้เป็นของขวัญครบรอบหนึ่งขวบของเขาใน ปี 1921 ปัจจุบัน วินนี่ย์เดอะพูห์ถูกจัดแสดงให้แฟน ๆ ของการ์ตูนเรื่องดังกล่าวได้ชมกันที่ Children’s Reading Room ใน New York Public Library บนถนน West 53rd Street ผู้ให้เสียงสำหรับตัวการ์ตูนตัวนี้ คือ สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ ซึ่งเป็นนักแสดงชื่อดังและนักพากย์ที่สตูดิโอดิสนี่ย์ ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องวินนี่ย์เดอะพูห์ ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องแรกของทางสตูดิโอที่นำวรรณกรรมเยาวชนอันแสนน่ารักของเอ. เอ. มิลล์ ถ่ายทอดสู่แผ่นฟิล์ม วินนี่ย์เดอะพูห์และผองเพื่อน , คริสโตเฟอร์ โรบิน, เจ้าลาอีออร์, นกฮูก, แคงก้า และเบบี้รู รวมถึงกระต่ายและโกเฟอร์ ต้องเผชิญกับฝูงผึ้งและรังน้ำผึ้ง อันแสนหอมหวาน มีการดัดแปลงเรื่องราวดั้งเดิมของเจ้าหมีเท็ดดี้แบร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกตัวน ี้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการเพิ่มตัวละครใหม่ นั่นคือ โกเฟอร์ นี่คือภาพยนตร์การ์ตูนพิเศษขนาดสั้นกำกับโดย วูลฟแกงค์ ไรเดอร์แมน ทีมพากย์เสียงโดย สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ ( พูห์) , บรูซ ไรเดอร์แมน (คริสโตเฟอร์ โรบิน), ราล์ฟ ไรต์ (อีออร์), โฮวาร์ด มอร์ริส (โกเฟอร์), บาบาร่า ลัดดี้ (แคงก้า), ฮัล สมิธ (นกฮูก), จูเนียส แมธธิวส์ (กระต่าย) และคลินต์ โฮวาร์ด (รู) ความยาว 26 นาที เซบาสเตียน เคบอตต์ ผู้ดำเนินเรื่อง และเพลงประกอบภาพยนตร์โดย ริชาร์ด เอ็ม. และ โรเบิร์ต บี. เชอร์แมน สเตอร์ลิง ฮอลโลเวย์ได้รับคำชมเชยอย่างมากจากการพากย์เสียงเป็นพูห์และเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้หนัง ประสบความสำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดภาคต่ออีก 3 ตอน รวมถึงการนำตอนต่อทั้งหมดออกฉายรวมกันด้วย
วันจันทร์, มิถุนายน 22, 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น