วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 25, 2552

ภูเขาไฟ

เมื่อพูดถึงภูเขาไฟ คนทั่วไปมักนึกถึงภูเขาไฟชนิด Composite Cone Volcano หรือที่รู้จักกันในชื่อ Stratovolcano ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่มีความสวยงามที่สุดในโลก ลักษณะของ Composite Cone จะใหญ่ มีความสมมาตร ทำให้ถ่ายภาพออกมาแล้วสวยงาม ส่วนใหญ่ภูเขาไฟชนิดนี้จะมีส่วนยอดปกคลุมด้วยหิมะ ที่ความสูงกว่า 2500 ม. ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีได้แก่ภูเขาไฟฟูจิ (Mt Fuji) ในญี่ปุ่น ภูเขาไฟมายอน (Mt Mayon) ในประเทศฟิลิปปินส์ และภูเขาไฟเซนต์เฮเลนในประเทศสหรัฐฯ ภูเขาไฟชนิด Composite Cone นี้มักพบในเขต “Ring of Fire” ที่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก การจำแนกภูเขาไฟตามรูปร่าง
กรวยภูเขาไฟสลับชั้น
กรวยภูเขาไฟสลับชั้น(Composit Cone Volcano) เป็นภูเขาไฟซึ่งเกิดจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวา และเศษหิน ภูเขาไฟชนิดนี้อาจจะดันลาวาไหลออกมาเป็นเวลานาน และจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประทุอย่างกระทันหัน ภูเขาไฟชนิดนี้ที่มีชื่อ เช่น ภูเขาไฟฟูจิ (ญี่ปุ่น), ภูเขาไฟมายอน (ฟิลิปปินส์) และ ภูเขาไฟเซนต์เฮเลน (สหรัฐฯ)
ภูเขาไฟรูปโล่
ภูเขาไฟรูปโล่ (Shield Volcano) เป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ โดยพื้นฐานแล้วภูเขาไฟชนิดนี้เกิดจาก ลาวาชนิดบาซอลท์ที่ไหลด้วยความหนืดต่ำ ลาวาที่ไหลมาจากปล่องกลาง และไม่กองสูงชัน เหมือนภูเขาไฟชนิดกรวยสลับชั้น ภูเขาไฟชนิดนี้มักจะเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ เช่น ภูเขาไฟ Muana Loa (ฮาวาย)
การเกิดภูเขาไฟ
เกิดจากหินหนืดที่อยู่ใต้เปลือกโลกถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น สิ่งที่พุ่งออกมาจากภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟระเบิดก็คือ หินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหินและแก๊สต่างๆ โดยจะพุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟ (หินหนืดถ้าถูกพุ่งออกมาจากบนพื้นผิวโลกเรียกว่า ลาวา แต่ถ้ายังอยู่ใต้ผิวโลกเรียกว่า แมกมา)
บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟ แนวรอยต่อระหว่างเพลตจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟได้มากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ใต้พื้นมหาสมุทรลงไปสู่บริเวณใต้เปลือกโลกที่เป็นส่วนของทวีป เพราะเปลือกโลกแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไปจะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด จึงแทรกตัวขึ้นมาบริเวณผิวโลกได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น บริเวณที่อยู่ห่างจากรอยต่อระหว่างเปลือกโลก ก็อาจเกิดภูเขาไฟได้เช่นกัน ซึ่งเกิดขึ้นโดยกระบวนการที่หินหนืดถูกดันขึ้นมาตามรอยแยกในชั้นหิน ตัวอย่างเช่น นักธรณีวิทยาพบว่า บริเวณจังหวัดลำปางและบุรีรัมย์ เคยมีบริเวณที่หินหนืดถูกดันแทรกขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และมีบางแห่ง เกิดการปะทุแบบภูเขาไฟ แต่ไม่รุนแรงมากนัก
ประโยชน์และโทษของการเกิดภูเขาไฟ
1.แผ่นดินขยายกว้างขึ้นหรือสูงขึ้น
2.เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล
3.ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ
4.เป็นแหล่งเกิด
น้ำพุร้อน
โทษของการเกิดภูเขาไฟ
1.เมื่อภูเขาไฟระเบิดจะมีเขม่าควันและก๊าซบางชนิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้
2.การปะทุของภูเขาไฟอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
3.ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ใกล้เคียงเป็นอันตราย
4.สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น