วันจันทร์, สิงหาคม 24, 2552

ทำไม1วันต้องมี24ชั่วโมง แล้ว1ชม.ต้องมี60นาที แล้วทำไม1นาทีต้องมี60วินาที


1 วัน มีกี่ชั่วโมงนั้นก็เพราะกำหนดจากระยะเวลาการหมุนของโลกรอบตัวเอง ส่วนหนึ่งปีมีกี่วันนั้นก็คิดมาจากระยะเวลาที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ แต่ใครเป็นผู้กำหนดวันเวลานั้นไม่สามารถระบุชี้ชัดลงไปได้ ทั้งนี้ เพราะเวลานั้นเกิดจากการพัฒนาและเรียนรู้ของมนุษย์มานานหลายพันปี




มนุษย์สมัยโบราณเรียนรู้และกำหนดเวลาจากวงรอบทางดาราศาสตร์ โดย "วัน" มาจากการหมุนของโลกรอบแกนใน 24 ชั่วโมง (ปัจจุบันโลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23.56. 1 ชั่วโมง)




"เดือน" มาจากการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลก


ซึ่งเมื่อนับวันเทียบกับการโคจรของดวงอาทิตย์ก็พบว่าจันทร์เต็มดวงจะเวียนมาครบรอบใหม่ทุกๆ 29 .5 วัน ส่วนปีก็คือเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ (365.242199 วัน)




โดยปฏิทินสากลที่เราใช้กันทุกวันนี้เป็นผลงานของชาวโรมัน เมื่อ 2,800 ปีก่อน เดิมทีนั้น ปฏิทินโรมันกำหนดให้ 1 ปีมี 10 เดือน โดยให้เดือนหนึ่งๆ มี 36 วัน หรือ 37 วัน เพื่อให้ปีหนึ่งมี 365 วัน และกษัตริย์นูมาปอมปลิอุส ทรงให้เดือนแรกของปีชื่อ Martius และเดือนที่สิบชื่อ December




นอกจากนี้ก็ได้ทรงกำหนดใหม่ให้เดือนแรกของปีที่ชื่อ


Januarius มี 31 วัน


Februarius มี 28 วัน


Martius มี 31 วัน


Aprilis มี 30 วัน


Maius มี 31 วัน


Junius มี 30 วัน


Quintilis มี 31 วัน


Sextilis มี 30 วัน


September มี 31 วัน


October มี 30 วัน


November มี 31 วัน


และ December มี 30 วัน




และให้ทุก 4 ปีมีการเพิ่มวันอีก 1 วันในเดือน Februarius เนื่องจากข้อเท็จจริงที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบใช้เวลา 365 วันกับอีก 1 ส่วน 4 วัน เมื่อนำเวลาที่เกินมาในแต่ละปีนั้นมารวมเข้าด้วยกันในทุกรอบ 4 ปี ก็จะได้วันเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน




นอกจากนี้จูเลียส ซีซาร์ ยังทรงกำหนดให้วันที่ 1 ม.ค.ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งมีผลทำให้เดือน December ซึ่งเคยเป็นเดือนที่ 10 ของปี กลายเป็นเดือนที่ 12 เดือน November กลายเป็นเดือนที่ 11 เดือน October กลายเป็นเดือนที่ 10 และ September กลายเป็นเดือนที่ 9 แทน


และเมื่อ Caesar ถูกปลงพระชนม์ ชาวโรมันได้เปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis เป็น Julius เพื่อเป็นเกียรติแด่องค์จักรพรรดิจูเลียส และกลายเป็น July ในเวลาต่อมา




ต่อมา จักรพรรดิออกุสตุสทรงมีพระบัญชาให้มีการปฏิรูปปฏิทินอีก และให้เปลี่ยนชื่อเดือนที่หกจาก Sextilis เป็น Augustus ซึ่งได้กลายเป็น August ในเวลาต่อมา กระนั้น ปฏิทินดังกล่าวนั้นยังไม่ถูกต้อง 100 % เพราะ 1 ปีมิได้ยาวนาน 365 1 ส่วน 4 วัน พอดิบพอดี นั่นก็หมายความว่า ปฏิทินจูเลียนยังมีเวลาที่เกินไป ด้วยเหตุนี้สันตะปาปาเกรเกอรีที่ 13 จึงได้ทรงสั่งให้แก้ไขอีกโดยลดจำนวนวันในปี 1582 ลง 10 วัน แรกๆ ก็มีหลายฝ่ายไม่พอใจแต่ในที่สุดคนทั่วโลกก็ยอมรับและใช้กันจนถึงทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น